วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ลำดับควาสำคัญของ operator
ลำดับควาสำคัญของ operator
ลำดับควาสำคัญ โอเปอเรเตอร์ ลำดับของการโอเปอเรเตอร์
1 () ซ้ายไปขวา
2 !,++,-- ซ้ายไปขวา
3 ^ -
4 *,/,% ซ้ายไปขวา
5 +,- ซ้ายไปขวา
6 <,<=,>,>= ซ้ายไปขวา
7 =,!= ซ้ายไปขวา
8 && ซ้ายไปขวา
9 l l ซ้ายไปขวา
10 *=,/=,%=,+=,-= ซ้ายไปขวา
ตัวอย่าง
ถ้าหากให้คอมพิวเตอร์ทำประโยคเหล่านี้ Y=2*5*5+3*5+7
ลำดับการทำงานจะเป็นดังนี้
ขั้นที่1 Y=2*5*5+3*5+7; --> 2*5=10
ขั้นที่2 Y=10*5+3*5+7; --> 10*5 = 50
ขั้นที่3 Y=50+3*5+7; --> 3*5=15
ขั้นที่4 Y=50+15+7; --> 50+15=65
ขั้นที่5 Y=65+7; --> 65+7=72
ตัวดำเนินการทางตรรกะ
ตัวดำเนินการทางตรรกะ ( logical operator ) ประกอบด้วย การทำ AND , OR และ NOT เมื่อกระทำกับค่าเท่าใด ผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นจริงหรืเท็จ ตัวดำเนินการทางตรรกะแสดง ได้ดังตาราง ต่อไปนี้
ตัวดำเนินการ การกระทำ
&& AND ค่าสองค่า ถ้าค่าทั้งสองเป็นจริงผลลัพธ์จะเป็นจริง
l l OR ค่าสองค่า ถ้าค่าทั้งสองเป้นเท็จผลลัพธ์จะเป็นเท็จ
! เปลี่ยนค่า จากจริงเป็นเท็จ จากเท็จเป็นจริง
สิ่งที่ควรรู้
A B A && B A l l B
T T T T
T F F T
F T F T
F F F F
วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557
รหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด (Pseudo Code)
รหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด (Pseudo Code)
เป็นคำสั่งที่จำลองความคิดเป็นลำดับขั้นตอนโดยใช้สัญลักษณ์เป็น ประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งซูโดโค้ดไม่ใช่ภาษาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์จึงไม่ สามารถนำไปประมวลผลได้ คือ ไม่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง แต่เป็นการเขียนจำลองคำสั่งจริงแบบย่อๆ ตามอัลกอริทึมของโปรแกรมระบบ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ได้
รหัสเทียม (Pseudocode) คือ การเขียนโปรแกรมในรูปแบบภาษาอังกฤษที่มีขั้นตอนและรูปแบบแน่นอนกะทัดรัด และมองดูคล้ายภาษาระดับสูงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่เจาะจงภาษาใดภาษาหนึ่ง
• เป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างกระบวนการทำงานของการเขียนโปรแกรมแต่ละโปรแกรม
• เป็นต้นแบบในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ
• เป็นตัวกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงานตามกระบวนการที่ได้จำลองกระบวนการจริงไว้ในซูโดโค้ด
• ประโยคคำสั่ง (Statement) จะอยูในรูปแบบของภาษาอังกฤษอย่างง่าย
• ในหนึ่งบรรทัด ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว
• ควรใช้ย่อหน้า เพื่อแยกคำเฉพาะ (Keywords) ได้ชัดเจน รวมถึงจัดโครงสร้างการควบคุมให้เป็นสัดส่วน ซึ่งช่วยให้อ่านโค้ดได้ง่าย
• แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงลาง โดยมีทางเข้าเพียงทางเดียว และมีทางออกทางเดียวเท่านั้น
• กลุ่มของประโยคคำสั่งต่างๆ อาจจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูล แต่ต้องมีการกำหนดชื่่อของโมดูลด้วย เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานโมดูลนั้นได้
Algorithm Problem_1
Variables : mLoop, Sum, testScore, average
Begin
Input mLoop
Sum = 0
For I = 1 to mLoop
Input testScore
Sum = Sum + testScore
Next
average = Sum / mLoop
Print average
End Problem_1
รหัสเทียม (Pseudocode) คือ การเขียนโปรแกรมในรูปแบบภาษาอังกฤษที่มีขั้นตอนและรูปแบบแน่นอนกะทัดรัด และมองดูคล้ายภาษาระดับสูงที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่เจาะจงภาษาใดภาษาหนึ่ง
ประโยชน์ของซูโดโค้ด
• เป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างกระบวนการทำงานของการเขียนโปรแกรมแต่ละโปรแกรม
• เป็นต้นแบบในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ
• เป็นตัวกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงานตามกระบวนการที่ได้จำลองกระบวนการจริงไว้ในซูโดโค้ด
วิธีการเขียนซูโดโค้ด
• ประโยคคำสั่ง (Statement) จะอยูในรูปแบบของภาษาอังกฤษอย่างง่าย
• ในหนึ่งบรรทัด ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว
• ควรใช้ย่อหน้า เพื่อแยกคำเฉพาะ (Keywords) ได้ชัดเจน รวมถึงจัดโครงสร้างการควบคุมให้เป็นสัดส่วน ซึ่งช่วยให้อ่านโค้ดได้ง่าย
• แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงลาง โดยมีทางเข้าเพียงทางเดียว และมีทางออกทางเดียวเท่านั้น
• กลุ่มของประโยคคำสั่งต่างๆ อาจจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูล แต่ต้องมีการกำหนดชื่่อของโมดูลด้วย เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานโมดูลนั้นได้
ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียม Pseudo Code
Algorithm Problem_1
Variables : mLoop, Sum, testScore, average
Begin
Input mLoop
Sum = 0
For I = 1 to mLoop
Input testScore
Sum = Sum + testScore
Next
average = Sum / mLoop
Print average
End Problem_1
ผังงาน (Flowchart Diagram)
ความหมายของผังงาน
ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า
ผังงานแบ่งได้ 2 ประเภท
1. ผังงานระบบ (System Flowchart)
คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย
2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์
ประโยชน์ของผังงาน
1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define)
2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing)
3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug)
4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read)
5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language)
สัญลักษณ์(Symbol)การเขียน Flowchart เบื้องต้นเราจะใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้
รูปแบบการเขียน Flowchart
การเขียนเราจะเขียนในลักษณะ Top-Down คือจากบนลงล่าง(Flow คือการไหล,Flowchart ก็คือ
ผังงานการไหลของข้อมูล)
การเขียนมี 3 ลักษณะ คือ
sequence(ตามลำดับ)
selection(ทางเลือก/เงื่อนไข)
iteration(ทำซ้ำ)
sequence(ตามลำดับ)
เป็นการเขียนแบบไล่ทำไปทีละลำดับ ไม่มีแยก (เปรียบเสมือน ขับรถไป ไม่มีทางแยกให้เลี้ยวไปไหน)
selection(ทางเลือก/เงื่อนไข)
ทางเลือกแบบ if ...else if ..else โปรแกรมคำนวณเกรด
iteration(ทำซ้ำ)
คำสั้่งที่ใช้โครงสร้างแบบทำซ้ำได่แก่ for, while, do..while
โปรแกรมแม่สูตรคูณแม่ 2 ใช้คำสั่ง for หรือ while
อัลกอริทึม (Algorithm)
แบ่งขั้นตอนออกเป็นย่อย ๆที่แน่นอนซึ่งเมื่อทราบขั้นตอนการทางานที่แน่นนอนแล้วก็จะนำ
Algorithm ที่ได้นั้น มาวาดเป็น Flowchart จากนั้นจึงแปลง Flowchart เป็นภาษาระดับสูงที่
คอมพิวเตอร์เข้าใจ
ขั้นตอนในการพัฒนาลำดับขั้นตอนิธีการแกปัญหานับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอน
หนึ่ง เพราะเป็นขั้น ตอนที่นำ วิธีการแกปัญหาที่ได้ทำการทดลองหาวิธีการแกปัญหาในส่วนของการ
ทดลองแกป้ ัญหาดว้ยตนเอง (Hand Example) มาทา การเรียบเรียงลา ดบัข้นั ตอนการทางานของ
วธิีการแกปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้น ตอนสุดท้ายว่ มีล ดับขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง
เพื่อที่จะนำไปสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการแก้ไ้ขปัญหาด้วยวิธีการนี้
คำว่า Algorithm ในทางคณิตศาสตร์จะหมายถึงขั้น ตอนหรือวิธีการคำนวณสำหรับในการ
เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Algorithm จะหมายถึงวิธีการที่ได้แบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ ที่มีการ
ทำงานแน่นอน หรือการอธิบายลำดับขั้น ตอนการทำงานในลักษณะของข้อความ ตั้งแต่ต้นจนจบ
ว่า มีลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง Algorithm มาจากชื่อของนักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซีย
Abu Ja’ far Muhammad ibm al-Khwarizmi ผเู้ขียนหนงัสือเกี่ยวกบั เรื่องของจา นวนของชาวฮินดู
และอาหรับ “Aldorithmi de numero Indorum” (ภาษาลาติน) ซ่ึงแปลว่า “Al-Khwarizmi on
the Hindu Art of Reckoning” (ภาษาอังกฤษ) เป็นผู้เริ่มใชเ้ลขศูนย์ในระบบทศนิยม
ตัวอย่างการเขียนอัลกอริทึม
1.จงเขียนอัลกอริทึม ผังงาน รหัสเทียม เพื่อวนรับค่าจำนวนสินค้า (Amount) และราคาสินค้า (Price) แต่ละชนิด แล้วคำนวนหาค่ารวม(Tocal Price) และจำนวนรวม (Total Amount) ทั้งหมดของสินค้า กำหนดให้หยุดรับเมื่อใส่ค่าเป็น 0
1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ
ค่ารวม(Tocal Price) และจำนวนรวม (Total Amount) ทั้งหมดของสินค้า
2 รูปแบบผลลัพธ์
Tocal Price=00.00 , Total Amount=00.00
3 ข้อมูลนำเข้า
Amount , Price
4ประกาศตัวแปร
Amount , Price , Tocal Price , Total Amount ชนิด Real
5.การประมาวลผล
5.1 เริ่ม
5.2 ประกาศตัวแปร
Amount , Price , Tocal Price , Total Amount ชนิด Real
Tocal Price , Total Amount = 0
5.3 INPUT
Amount , Price ชนิด Real
5.4 ขั้นตอนการประมวลผล
5.4.2 Total Price = Total Price + Price
5.4.3 Total Amount = Total Amount + Amount
5.4.4 INPUT Amount , Price
5.4.5 IF Amount , Price = 0 จริงจบการรับค่า ไม่จริงทำ 5.4.2
5.4.6 Print Tocal Price , Total Amount
5.5. จบการประมวลผล
2. จงเขียนอัลกอริทึม ผังงาน รหัสเทียมเพื่อหาผลรวมของเลขคี่ตั้งแต่ 1-100
1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ
ผลรวมของเลขคี่ตั้งแต่ 1-100
2 รูปแบบผลลัพธ์
Total=00.00
3 ข้อมูลนำเข้า
VAR 1,VAR2,….VAR 100
4ประกาศตัวแปร
VAR= 1- 100 = INT
Total = INT
5.การประมาวลผล
5.1 เริ่ม
5.2 ประกาศตัวแปร
VAR =1-100 = INT
Total=INT
Total = 0
5.3 INPUT
VAR 1,VAR2,….VAR 100
5.4.ขั้นตอนการประมวลผล
For VAR=1-100
VAR=0
If VAR MOS 2 = 1 = TOTAL+VAR
END FOR
PRINT TOTAL
5.5 จบการประมวลผล
3.จงเขียนอัลกอริทึม ผังงาน รหัสเทียม เพื่ออ่านตัวเลข 3 ค่าที่แตกต่างกัน แล้วแสดงค่าตัวเลขที่มากที่สุด และ ตัวเลขที่น้อยที่สุดออกทางจอภาพ
1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ
ค่าตัวเลขที่มากที่สุด และ ตัวเลขที่น้อยที่สุด
2 รูปแบบผลลัพธ์
Sum_น้อย=00.00 Sum_มาก=00.00
3 ข้อมูลนำเข้า
Num_1,num_2,num_3
4ประกาศตัวแปร
Num_1,num_2,num_3 ชนิดreal
Sum_น้อยม,Sum_มาก ชนิด real
5.การประมาวลผล
5.1 เริ่ม
5.2 ประกาศตัวแปร
Num_1,num_2,num_3 ชนิดreal
Sum_น้อยม,Sum_มาก ชนิด real
Sum_น้อย,Sum_มาก =0
5.3 INPUT
Num_1,num_2,num_3
5.4 ขั้นตอนการประมวลผล
5.4.1 if Num_1<num_2and num_1<num_3ถ้าจริงให้ทำ sum_น้อย=sum_น้อย+Num_1แร้วทำ 5.4.2 ถ้าไม่จิง ให้ทำ 5.4.2
5.4.2 if Num_1>num_3 and num_1>num_3ถ้าจริงให้ทำ sum_มาก=sum_มาก+Num_1แร้วทำ 5.4.3 ถ้าไม่จิง ให้ทำ 5.4.3
5.4.3 if Num_2<num_1 and num_2<num_3ถ้าจริงให้ทำ sum_น้อย=sum_น้อย+Num_2แร้วทำ 5.4.4ถ้าไม่จิง ให้ทำ 5.4.4
5.4.4 if Num_2>num_3 and num_2>num_3ถ้าจริงให้ทำ sum_มาก=sum_มาก+Num_2แร้วทำ 5.4.5ถ้าไม่จิง ให้ทำ 5.4.5
5.4.5 if num_3<num_1 and num_3<num_2ถ้าจริงให้ทำ sum_น้อย=sum_น้อย+Num_3แร้วทำ 5.4.6 ถ้าไม่จิง ให้ทำ 5.4.6
5.4.6 if num_3>num_1 and num_3>num_2ถ้าจริงให้ทำ sum_มาก=sum_มาก+num_1แร้วทำ 5.4.7 ถ้าไม่จิง ให้ 5.4.7
5.4.7 end if
5.4.8.Print sum_น้อย,sum_มาก
แนวคิดและหลักการออกแบบโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกภาษานั้นเหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันของแต่ละภาษาคือ รูปแบบการเขียน ถ้าสามารถเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งได้แล้ว การเขียนโปรแกรมแบบนั้นในภาษาอื่นย่อมไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องศึกษารูปแบบการเขียนของภาษานั้นเพิ่มเติม แล้วนำประสบการณ์ที่เคยเขียน ไปสั่งให้ภาษาใหม่ทำงานตามต้องการ
ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนในการ7 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา (Analysis the Problem)
2. ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม (Design a Program)
3. ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม (Coding)
4. ขั้นตอนการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Testing and Debugging)
5. ขั้นตอนการทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม (Testing and Validating)
6. ขั้นตอนการทำเอกสารประกอบโปรแกรม (Documentation)
7. ขั้นตอนการบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance)
1. ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา (Analysis the Problem)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดที่นักเขียนโปรแกรมจะต้องทำก่อนที่จะลงมือเขียนโปรแกรมจริง ๆ เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น และค้นหาจุดมุ่งหมายหรือสิ่งที่ต้องการ ในขั้นตอนนี้จะมีองค์ประกอบอยู่ 3องค์ประกอบที่จะช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา ได้แก่
1 การระบุข้อมูลเข้า (Input) ต้องรู้ว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่จะต้องป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมทำการประมวลผลและออกผลลัพธ์
2. การระบุข้อมูลออก (Output) จะพิจารณาว่างานที่ทำมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อะไร ต้องการผลลัพธ์ที่มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร โดยจะต้องคำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลักในการออกแบบผลลัพธ์
3. กำหนดวิธีการประมวลผล (Process) ต้องรู้วิธีการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
2.ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม (Design a Program)
ในขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมนี้ เป็นการออกแบบการทำงานของโปรแกรม หรือขั้นตอนในการแก้ปัญหา ซึ่งผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้เครื่องมือมาช่วยในการออกแบบได้ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมมีอยู่หลายอย่าง ซึ่งวิธีการซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับใช้ในการออกแบบโปรแกรม เช่น
• อัลกอริทึม (Algorithm)
• ผังงาน (Flowchart)
• รหัสจำลอง (Pseudo-code)
• แผนภูมิโครงสร้าง (Structure Chart)
3. ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม (Coding)
ในขั้นตอนนี้ จะเป็นการนำเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นจากขั้นตอนการออกแบบมาแปลให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น เราสามารถเลือกใช้ภาษาได้หลายภาษา ตั้งแต่ภาษาระดับต่ำ เช่น ภาษาแอสเซมบลี จนถึงภาษาระดับสูง เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล ภาษาซี ซึ่งแต่ละภาษาจะมีรูปแบบ โครงสร้าง หรือไวยากรณ์ของภาษาที่แตกต่างกันออกไปดังนั้น การเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น ควรจะต้องทำตามขั้นตอนคือ เริ่มตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหาให้ได้ก่อน แล้วทำการออกแบบโปรแกรมจึงจะเริ่มเขียนโปรแกรม ซึ่งในการเขียนโปรแกรมนั้น สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์การเขียนโปรแกรมเพียงพอ ก็ควรจะทดลองเขียนลงในกระดาษก่อน แล้วตรวจสอบจนแน่ใจว่าสามารถทำงานได้แล้ว จึงทำการป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและทำให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น
4.ขั้นตอนการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Testing and Debugging)
หลังจากที่ทำการเขียนโปรแกรมเสร็จสิ้นแล้ว โปรแกรมนั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบก่อนว่า มีข้อผิดพลาด (error) ในโปรแกรมหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดจากการเขียนโปรแกรมที่ผิดหลักไวยากรณ์ของภาษาเป็นต้น โดยทั่วไปจะมีวิธีที่จะตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. ตรวจสอบด้วยตนเอง (Self Checking) เป็นการทดลองเขียนโปรแกรมลงบนกระดาษ แล้วใส่ตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นด้วยตนเอง ว่าโปรแกรมมีการทำงานที่ถูกต้อง ได้ผลลัพธ์ตรงตามความเป็นจริงหรือไม่
2. ตรวจสอบด้วยการแปลภาษา (Translating) หลังจากที่เขียนโปรแกรมเสร็ข และมีการตรวจสอบด้วยตนเองเรียบร้อยแล้ว ก็จะป้อนโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการแปลโปรแกรม โดยจะต้องเรียกใช้ตัวแปลภาษาโปรแกรม ที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำการแปลภาษาโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลนี้จะเป็นการตรวจสอบความผิดพลาดของโปรแกรมด้วย ซึ่งถ้ามีข้อผิดพลาดใด ๆ เครื่องคอมพิวเตอร์จะแจ้งให้ทราบทางหน้าจอ
5.ขั้นตอนการทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม
(Testing and Validating)
ในบางครั้ง โปรแกรมอาจผ่านการแปล โดยไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ แจ้งออกมา แต่เมื่อนำโปรแกรมนั้นไปใช้งาน ปรากฏว่าได้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นจริง เนื่องจากอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรจะต้องมีขั้นตอนการทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมอีกทีด้วยในการทดสอบความถูกต้องของข้อมูล จะมีอยู่หลายวิธี ดังต่อไปนี้
1. การใส่ข้อมูลที่ถูกต้อง (Valid Case) เป็นการทดสอบโปรแกรมเมื่อมีการรันโปรแกรม
2. การใช้ขอบเขตและความถูกต้องของข้อมูลเป็นการทดสอบ โดยตรวจสอบขอบเขตของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่โปรแกรม
3. การใช้ความสมเหตุสมผล ตัวอย่างเช่น ถ้าโปรแกรมมีการออกแบบให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลลงไปในฟอร์มที่มีข้อมูลที่เป็นเพศ (หญิง หรือ ชาย) และรายละเอียดส่วนตัวของคน ๆ นั้น เช่นเพศ วันลาคลอดชาย ต้องไม่มี (ห้ามใส่)หญิง อาจมีหรือไม่มีก็ได้
4. ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร เป็นการตรวจสอบว่า ถ้าโปรแกรมให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลในฟิลด์ที่ต้องรับข้อมูลที่เป็นตัวเลข อย่างเช่น ฟิลด์ที่เป็นจำนวนเงิน ก็ควรจะยอมให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลได้เฉพาะตัวเลขเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใส่ตัวอักษรในฟิลด์นั้นได้
5. ข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนด ข้อมูลที่ป้อนในฟิลด์ ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วเท่านั้น เช่น กำหนดให้ฟิลด์นี้ป้อนข้อมูลได้เฉพาะตัวเลขที่อยู่ในกลุ่ม 1,2,5,7 ได้เท่านั้น จะป้อนเป็นตัวเลขอื่นที่ไม่อยู่ในกลุ่มนี้ ไม่ได้
6.ขั้นตอนการทำเอกสารประกอบโปรแกรม (Documentation)
การทำเอกสารประกอบโปรแกรม คือ การอธิบายรายละเอียดของโปรแกรมว่า จุดประสงค์ของโปรแกรมคืออะไร สามารถทำงานอะไรได้บ้าง และมีขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างไร เครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรมเช่น ผังงาน หรือรหัสจำลอง ก็สามารถนำมาประกอบกันเป็นเอกสารประกอบโปรแกรมได้โปรแกรมเมอร์ที่ดี ควรมีการทำเอกสารประกอบโปรแกรม ทุกขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการออกแบบ การเขียนโปรแกรม หรือขั้นตอนการทดสอบโปรแกรม ซึ่งการทำเอกสารนี้จะมีประโยชน์อย่างมากต่อหน่วยงาน เนื่องจากบางครั้งอาจต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมที่ได้มีการทำเสร็จไปนานแล้ว เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนไป จะทำให้เข้าใจโปรแกรมได้ง่ายขึ้นและจะเป็นการสะดวกต่อผู้ที่ต้องเข้ามารับช่วงงานต่อทีหลังเอกสารประกอบโปรแกรม โดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ
1. เอกสารประกอบโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ (User Documentation)
จะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม แต่เป็นผู้ที่ใช้งานโปรแกรมอย่างเดียว จะเน้นการอธิบายเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น
จะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม แต่เป็นผู้ที่ใช้งานโปรแกรมอย่างเดียว จะเน้นการอธิบายเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น
• โปรแกรมนี้ทำอะไร ใช้งานในด้านไหน
• ข้อมูลเข้า มีลักษณะอย่างไร
• ข้อมูลออกหรือผลลัพธ์มีลักษณะอย่างไร
• การเรียกใช้โปรแกรม ทำอย่างไร
• คำสั่งหรือข้อมูลที่จำเป็นให้โปรแกรมเริ่มทำงาน มีอะไรบ้าง
• อธิบายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความสามารถของโปรแกรม
2. เอกสารประกอบโปรแกรมสำหรับผู้เขียนโปรแกรม (Technical Documentation) จะได้ออกได้เป็น 2 ส่วน
- ส่วนที่เป็นคำอธิบายหรือหมายเหตุในโปรแกรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คอมเมนท์ (Comment) ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเขียนแทรกอยู่ในโปรแกรม อธิบายการทำงานของโปรแกรมเป็นส่วน ๆ
- ส่วนอธิบายด้านเทคนิค ซึ่งส่วนนี้มักจะทำเป็นเอกสารแยกต่างหากจากโปรแกรม จะอธิบายในรายละเอียดที่มากขึ้น เช่น ชื่อโปรแกรมย่อยต่าง ๆ มีอะไรบ้าง แต่ละโปรแกรมย่อยทำหน้าที่อะไร และคำอธิบายย่อ ๆ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโปรแกรม
7.ขั้นตอนการบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance)
เมื่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแล และตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูแลและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรมและปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนาน ๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ เช่น ต้องการเปลี่ยนแปลงหน้าตาของรายงาน มีการเพิ่มเติมข้อมูลหรือลบข้อมูลเดิม นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุง แก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น
ข้อมูลและชนิดของข้อมูล
ตัวแปลภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
แอสเซมเบลอร์ เป็นตัวแปลภาษาแอสเซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำ ให้เป็นภาษาเครื่อง
อินเทอร์พรีเตอร์ เป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่อง
คอมไพเลอร์เป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่อง
ขนิดตัวแปล
Integer จำนวนเต็มบวก และจำนวนเต็มลบ เลขฐานสิบ ฐานแปด และฐานสิบหก
Float เก็บจำนวนจริงทั้งบวกและลบ ทั้งมีทศนิยม และไม่มีทศนิยม
String เก็บจำนวนตัวเลข และ ข้อความ
Array เก็บข้อมูลทเป็นชุด หรือ อาร์เรย์
Object เก็บข้อมูลในลักษณะออปเจ็กต์เพื่อการเรียกใช้เป็น Class Object หรือ Function
Type juggling เก็บข้อมูลในลักษณะเฉพราะหรือผู้ที่ใช้เพิ่มเข้ามา
Float เก็บจำนวนจริงทั้งบวกและลบ ทั้งมีทศนิยม และไม่มีทศนิยม
String เก็บจำนวนตัวเลข และ ข้อความ
Array เก็บข้อมูลทเป็นชุด หรือ อาร์เรย์
Object เก็บข้อมูลในลักษณะออปเจ็กต์เพื่อการเรียกใช้เป็น Class Object หรือ Function
Type juggling เก็บข้อมูลในลักษณะเฉพราะหรือผู้ที่ใช้เพิ่มเข้ามา
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ตอนที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ขั้นตอนการทำงานที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ 4 ขั้นตอน...
ขั้นตอนที่
|
การทำงาน
|
ตัวอย่างอุปกรณ์
|
1. การรับข้อมูลและคำสั่ง (Input)
|
คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล
|
Mouse, Keyboard, Scanner, Microphone
|
2. การประมวลผลหรือคิดคำนวณ(Processing)
|
ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit) ตามคำสั่งของโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์
|
CPU
|
3. การแสดงผลลัพธ์(Output)
|
คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้อน หรือแสดงผลจากการประมวลผล ทางอุปกรณ์แสดงผล
|
Monitor, Printer, Speaker
|
4. การเก็บข้อมูล(Storage)
|
ผลลัพธ์จากการประมวลผลสามารถเก็บไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล
|
hard disk, floppy disk, CD-ROM
|
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์...
คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 ส่วน ...
Hardware
เป็นส่วนที่ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้
Software
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)